วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

Douglas Murray McGregor


Douglas  Murray McGregor


ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X  and Theory Y)
             Douglas McGregor  ได้เขียนหนังสือ "The Human side of Enterprise" โดยเปรียบเทียบทางเลือกที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริการจะต้องเผชิญ

หลักการและแนวคิด

     ทฤษฎีของแม็กซ์เกร์เกอร์ มีฐานคดีในการมองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

      1.  ทฤษฎี X  ถือว่า
                -  คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน
                -  ขาดความกรตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า
                -  เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
                - ไม่ฉลาด
     2.  ทฤษฎี Y : เห็นว่า
               -  คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน
               -  การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้
               -  ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ
              -  คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป
              -  คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ
              -  ในปัจจุบันศักยภาพของคนยังไม่ได้รับการนำไปใช้

การนำไปใช้

     ทฤษฎี X ก็คือ ภาพพจน์ของคน ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอำนาจ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงาน โดยยึดเป้าหมาย จึงเห้ได้ว่าข้อเสนอการปรับปรุงงานของ McGragor  เป็นการย้ำให้เห็นความสำคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมขององค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ นิยมที่จะเห็นว่าคนมาก่อนองค์การ
     มนุษย์นิยมต้องการหาจุดที่พบกันได้ แต่ต้องการรักษาความมีเสรีภาพไว้ การมองคนว่าเป็นประเภท X หรือ Y นั้นเป็นการช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทำให้รู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดี หรือนายที่ดี ซึ่งเรียกการมองแบบนี้ว่า Polarization




รวบรวมโดย : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์
                

Henry L. Gantt


Henry L. Gantt

ความเป็นมา
      
        Gantt  เป็นวิศวกรเครื่องกลที่มีความคิดเช่นเดียวกับ Taylor และได้ทำงานร่วมงานกับ Taylor   ที่บริษัท Midvale Steel Commpany  ในปี  1887  และสร้างผลงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่วปี 1901  เขาได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมของเขาเอง เขาเชื่อในแนวคิดการปฏิบัติการตามหลักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ Taylor โดย Gantt ทำงานเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ มากมายในการคัดเลือกคนงานแบบวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาระบบจูงใจด้วยโบนัส เขาเน้นความต้องการและความสนใจทั้งฝ่ายบริหารและคนงาน การร่วมมือกันอย่างกลมกลืน

           Gantt เป็นที่รู้จัะกดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า ผังแกนต์ (Gantt Chart)  และสร้างการควบคุมการจัดการที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนเขาเน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน

โมเดลนี้ใช้เพื่อ

          gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง



        gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ  เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง

       ข้อดีของโมเดล
    ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น          
    เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนและแสดงตารางเวลาของโครงการ
    เป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการ

ข้อเสียของโมเดล
ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเกิดความล่าช้า  แล้วจะมีผลกระทบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างไร

จัดทำอย่างไร
    1. แจกแจงรายละเอียดกิจกรรมของแผนงาน โดยแต่ละงานให้ระบุวันเริ่มต้น ประมาณการระยะเวลาที่ใช้ มีงานใดบ้างที่ต้องเริ่มพร้อมกัน หรือมีงาน ใดบ้างที่ลำดับก่อนหลัง ซึ่งหากมีลำดับต้องระบุความสัมพันธ์ไว้ด้วย
    2. สร้าง Gantt Chart 
    3. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของกิจกรรมต่าง ๆ  ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่


ปัจจุบันได้มีการใช้โมเดลนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำ Microsoft Project มาช่วย

รวบรวมโดย  : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์




Henri Fayol



Henri Fayol
ความเป็นมา


             Henry Fayol   เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสี่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1841-1925 เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience  ในช่วงปี ค.ศ.1860-1866 เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร และก้าวมาทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ Fayol ได้มองการบริหารจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญว่าในองค์กรควรมีการทำงานร่วมกัน Fayol มีชีวิตที่ยืนยาว ผลงานของเขาไม่ได้ตีพิมพ์ จนกระทั่งเขาอายุได้ 75 ปี เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขัดแย้งกับแนวคิดของ Taylor ซึ่งในงานเขียนของ  Fayol นั้น ได้เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ Fayol ได้กำหนดว่า ทฤษฎีเป็นการรวบรวมวิธีการและกระบวนการ เพื่อให้มีประสบการณ์มากขึ้น

หลักการบริหาร 14 ข้อ
1.การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
3.การแบ่งานกันทำ (Division of Work)
4.การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
5.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)
6.ความเสมอภาค (Equity)
7.สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
8.การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
9.การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
10.ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11.ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12.ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม
  (Sulxordination of Individual Interest to the General Personnel)
13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Lenore of Personnel)
14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Crope)

เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร



Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ในกาทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ POCCC  
1.  Planning
2.  Organizing
3.  Commanding
4.  Coordinating
5.  Controliing

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  จากหลักการด้านการจัดการของ FAYOL มีลักษณะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก Fayol ได้กล่าวว่า  หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ หลักการของ fAYOL มีลักษณะเป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดย Shelden  Urwick และ barnard

ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ

ข้อดี....
1.  องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
2.  สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
3.  สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย....
1.  มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่

การนำไปใช้ :
                    ทฤษฎีการบริหารของ Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization) และเน้นถึงความสำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน โดย Fayol ระบุว่าเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือหลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ

ข้อมูล : ชูเกียรติ  เนื้อไม้
รวบรวม :พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์



Oliver Sheldon


Oliver Sheldon

           Oliver Sheldon มีประสบการณ์ทำงานในการบริหารกองทัพและ Coca Works of Rowntree & Company เขาได้เขียนหนังสือปรัชญาของการจัดการ ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration)

เครื่องมือนี้คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
1. การบริหาร (Administration)
  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
2. การจัดการ (Management)
  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ
  เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

            แนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration) นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจุดนี้เองทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ

ข้อดีของ Sheldon


1. กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการ
2. เป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
3. ทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ

ข้อเสียของ Sheldon

1. งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง
2. สิ้นเปลืองเวลาและบุคลากร

ใช้อย่างไร

           Oliver Sheldon  ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหารแบ่งการจัดการ เป็น 3 ประการ
  1. การบริหาร (Administration)
      เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
  2. การจัดการ (Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้ หน้าที่ในการจัดองค์การ
  3. เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร 




รวบรวมโดย : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์



Robert H.Waterman JR


Robert  H.Waterman JR

          Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์   เป็นชาวอเมริกัน  จบกการศึกษา   ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่ Stanford University
             การทำงาน      Waterman     โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of   Excellence, เป็นนักพูด, เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน

แนวคิด
               ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change  ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
โ                ธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977   พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7 ปัจจัยได้แก่

*โครงสร้าง(structure)
*กลยุทธ์(strategy)
*บุคลากร(staff)
*สไตล์การจัดการ(style)
*ระบบ(systems)
*ค่านิยมร่วม(shared value)
*ทักษะ(skills)

                             ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่ากรอบ 7 – S

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้

- องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
- หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
- พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
- ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า และที่สำคัญมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอบถามผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่แสดงออกชัดเจนในการทำดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หากสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน


รวบรวมโดย : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์

          ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว

Marry Parker Follett


Marry Parker Follett

ชื่อทฤษฎี่ : กฎแห่งความเหมาะสมตามสถานการณ์ (Law of Situation)

หลักการและแนวคิด

       เป็นทฤษฎีสมัยปัึจจุบัน มีลักษณะของการวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ Follett เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีสมัยปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ.1920-1930 ผลงานของเธอเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของความสัมพัธ์ในองค์การธุรกิจ ที่รวมเอาความสนใจต่าง ๆ ในเรื่องของตัวบุคคลและองค์การ เธอได้เสนอแนะว่าควรจะมีการทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยการมีจิตใจที่จะร่วมมือประสานกัน โดยเห็นว่าบุคคลทุกคนจะถูกนับว่าเป็นคน ๆ หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย จะเห็นว่าการเสนอแนะของ Follett สามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องเสียผลประโยชน์ขององค์การไป สรุปได้ว่า Follett ได้เสนอเป็นหลักการพื้นฐานในการจัดการไว้ 4 ประการ คือ
        1.  ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในแนวราบ (Horizontal Communication)
        2.  การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร (Participative Managent)
        3.  การตัดสินใจที่มีระบบ
        4.  การบริหารที่มีระบบ

กฎการบริหารของ Follett
          1.  กฎของสถานการณ์ (Law of situation)  โดยทำให้หัวหน้า และลูกน้องเข้าใจในสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ โดยไม่รู้สึกว่าตนถูกบังคับ เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและการเข้ามามีส่วนร่วมในการบรหาร
     2.  กฎของการรวมตัวกัน (Law of Integration)  โดยเห็นว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในองค์การ มีทางออกดังนี้
                  -  การครอบงำทางความคิด (Domination)
                  -  การบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ /ประนีประนอม (Compromising)
                  -  การรวมตัวกัน (Integration)

การนำไปใช้
      สามารถนำเอาหลักทฤษฎีและแนวคิดของ Mary Parter Follett ไปใช้ในการทำงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในอันที่จะบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์การ


เขียนโดย : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์


Emerson C. Harrington



Emerson C. Harrington


E            Emerson C. Harrington  มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานคือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร  ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล

องค์ประกอบของหลักประสิทธิภาพ 12 ประการ

1.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน  (Clearly defined ideals)
2.ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน  (Common sense)
3.ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์  (Competent counsel)
4.รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน  (Discipline)
5.ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม  (Fair deal)
6.มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้  (Reliable information)
7.มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ  (Dispatching)
8.มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา  (Standard  and         Schedule)
9.ผลงานได้มาตรฐาน  (Standardized condition)
10.ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้  (Standardized operation)
11.มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้  (Standardized directing)
12. ให้บำเหน็บรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี  (Efficiency reward)

ข้อดี และ ข้อเสีย

ข้อดี 
         ด้วยแนวทางการบริหารแบบนี้ เป็นแบบหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการทดลองมาหลายครั้ง และประเมินผลแล้ว สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีประสิทธิผลเพียงไร ซึ่ง Emerson Harrington ได้นำมาใช้ในการบริหารกว่า 200 องค์กร
ข้อเสีย  
        ด้วยแนวคิดนี้ จะมีการแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ จะถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นผลงาน ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน

ใครนำไปใช้ และ ผลสรุปเป็นอย่างไร

   Emerson C. Harrington ได้นำไปใช้ในการปรับปรุง พัตนากิจการรถไฟสายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฎว่าได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญ อเมริกัน


เขียนโดย  : พีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์