ความเป็นมา
เทเลอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (The Father of Scientific Management) ซึ่งเมื่อมองจากประวัติส่วนตัวของเขาแล้วจะพบว่า Taylor เริ่มต้นจากการเป็นนายช่างในปี 1875 และเข้าร่วมงานกับ Midvale Steel Works ในฟิลาเดเฟียเมื่อปี 1878 จากนั้นก็เลื่อนไปสู่ตำแหน่งหัวหน้างานวิศวกรรมภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วยการเรียนตอนเย็น
Taylor ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ตัดเหล็กด้วยความเร็วสูง โดยอุทิศชีวิตและเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในฐานะวิศวกรที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทนจารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทำงานมาแต่ก่อน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์
ชื่อทฤษฎี : การจัดการอย่างมีหลักเกณฑ์/ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
หลักการที่สำคัญ
1. ต้องสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกำหนดเป็น One best Way เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
2. มีการเลือกคนให้เหมาะสม
3. มีกระบวนการพัฒนาคน
4.สร้าง Friendly Cooperation ให้เกิดขึ้น
ข้อเสีย
การบริหารจัดการแบบวิทยศาสต์ถูกวิจารณ์ว่า
ไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบที่เป็นมนุษย์ ทำให้ขาดความไว้วางใจผู้บริหาร
การนำไปใช้
ตามทฤษฎี "การจัดการอย่างมีหลักการ (Scientific Management)" นี้ Taylor เห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้กับขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกประเภท อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเกี่ยวกับวิทยาการจัดการของ Taylor ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เช่น นักบริหารระดับผู้จัดการ หัวหน้างานที่ไม่มีความรู้/ ความคิดที่ Taylor ให้การยกย่องผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ส่วนสหภาพแรงงานก็ต่อต้านเพราะรู้สึกว่า Taylor มองคนเหมือนหุ่นยนต์
เขียนโดย : พีระวัฒน์ ชาติพฤกษพันธุ์
เขียนโดย : พีระวัฒน์ ชาติพฤกษพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น